ฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่อะไร เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบไหนดีกับคุณที่สุด ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ มันมีหน้าที่เก็บข้อมูลทั้งหมดในระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งรวมถึงระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลส่วนต่าง ๆ ของผู้ใช้ การเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ที่เหมาะสมกับคุณนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการและการใช้งานของคุณ ดังนั้น คุณควรพิจารณาด้านต่อไปนี้เพื่อเลือกฮาร์ดดิสก์ที่เหมาะสม 1.ความจุข้อมูลที่ต้องการเก็บ : คุณควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลเพียงพอสำหรับความต้องการของคุณ หากคุณมีข้อมูลมากๆ คุณอาจต้องการฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมาก เช่น 1TB หรือ 2TB หรือมากกว่านั้น 2.ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล : ความเร็วของฮาร์ดดิสก์มีผลต่อประสิทธิภาพในการโหลดและบันทึกข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการอ่านและเขียนสูง จะช่วยลดเวลาในการเรียกข้อมูลและโหลดโปรแกรม ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วสูงสุดจะเป็น SSD (Solid State Drive) ซึ่งเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ HDD (Hard Disk Drive) 3.ความทนทานและความเสถียรภาพ : ความทนทานและเสถียรภาพของฮาร์ดดิสก์มีความสำคัญสำหรับการรักษาข้อมูลในระยะยาว ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเสถียรภาพสูงและมีระบบการสำรองข้อมูล (เช่น RAID) จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าข้อมูลของคุณจะปลอดภัย 4.ราคา: ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกฮาร์ดดิสก์ คุณควรพิจารณาคุณลักษณะที่ต้องการกับงบประมาณของคุณ ไขข้อสงสัยฮาร์ดดิสก์ มีบทบาทอะไรกับคอมของคุณ ฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่อะไร มาเริ่มต้นการเลือกด้วยการตอบคำถามนี้ก่อนดีกว่า เพราะหลังจากที่รู้การทำงานเบื้องต้นที่ฮาร์ดแวร์ชิ้นนี้จะทำให้กับคุณได้ ขั้นตอนการเลือกจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับคุณ จัดเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลสำหรับฮาร์ดดิสก์ คือหน้าที่หลัก โดยถ้าเป็น HDD ทำงานด้วยแผ่นโลหะ สามารถเก็บข้อมูล และไฟล์สำคัญให้กับคุณได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในตอนนี้มักเลือกใช้แบบความจุที่ 1TB ขึ้นไป เพื่อให้ใช้งานในระยะยาวได้ เก็บข้อมูลแบบระยะยาว หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์จะมี RAM และฮาร์ดดิสก์ ซึ่งแรมนั้นจะเป็นที่เก็บข้อมูลหลัก แต่ฮาร์ดดิสก์จะเป็นการจัดเก็บข้อมูลสำรอง เหมาะกับการเก็บข้อมูลหรือพวกไฟล์แบบระยะยาว ถ้าไม่ลบก็จะไม่หายไปไหน ส่วนแรมถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านั้นก็จะหายไป และเริ่มทำงานใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่องเริ่มทำงาน เมื่อได้เห็นว่าฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่อะไรกันไปแล้ว เรามาดูประเภทของอุปกรณ์ชนิดนี้แบ่งตามการเชื่อมต่อ ฮาร์ดดิสก์ ราคาที่แตกต่างกันนอกจากในส่วนของความจุ ความเร็ว ประเภทของการเชื่อมต่อก็เป็นตัวแบ่งราคาเช่นเดียวกัน ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบไหนทำงานอย่างไรบ้าง IDE IDE การเชื่อมต่อ HDD คือแบบที่ยกเลิกการใช้ไปแล้ว แต่ยกมาแนะนำเพื่อให้คุณได้เข้าใจพัฒนาการของอุปกรณ์ชิ้นนี้กันให้มากขึ้น โดยทำการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพ 40 เส้น ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร เมื่อมีการพัฒนาจึงค่อย ๆ เลิกใช้กันไป E-IDE E-IDE Harddisk คือ การเชื่อมต่อที่มีความเร็วมากขึ้นกว่าแบบแรก ใช้สายแพเพิ่มขึ้นเป็น 80 เส้น แต่แน่นอนว่าด้วยความยุ่งยากในการเชื่อมต่อ ทำให้ถูกยกเลิกการใช้งานไปแล้วเช่นเดียวกัน เพื่อพัฒนาให้ทำงานได้เร็วขึ้น ในแบบที่อุปกรณ์เชื่อมต่อมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปพร้อมกัน SCSI ถ้าถามว่าระบบใหญ่ ๆ การเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ คืออะไรหรือแบบไหน SCSI คือคำตอบของเหล่า Server ทั้งหลาย เพราะออกแบบมาเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานที่แตกต่างจากแบบทั่วไป เน้นการทำงานเฉพาะทาง มาพร้อมราคาที่สูง แต่ก็ให้ประสิทธิภาพในการใช้ได้เป็นอย่างดี พวกกล้องวงจรปิดระบบใหญ่ ๆ ของบริษัทชั้นนำมักเลือกใช้การเชื่อมต่อแบบนี้กัน SATA SATA Hard Disk คือ รูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้ ย่อมาจาก Serial ATA มาพร้อมความเร็วในการเชื่อมต่อที่สูง สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างเมนบอร์ดได้ดี ดังนั้นถือว่าในตอนนี้ถ้าคุณจะเลือก HDD มาใช้ก็มักมาพร้อมรูปแบบในการเชื่อมต่อประเภทนี้ ฮาร์ดดิสก์ SSD ต่างกับ HDD อย่างไร เขียนและอ่านข้อมูล ซีพียูจะทำหน้าที่สั่งการให้ HDD เขียนข้อมูลใหม่ลงใน Sector ในพื้นที่ที่ว่างอยู่ ซึ่งจะเว้นระยะห่างระหว่าง Sector เดิมและใหม่ให้กับคุณ โดยถ้าเลือก HDD ที่สเปคสูงมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะมีความเร็วในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ความเร็วของ HDD ก็ยังถือว่าด้อยกว่า SSD ดังนั้นใครเน้นความเร็วอาจต้องหันไปเลือก SSD กันแทน รวมประเภทของฮาร์ดดิสก์ มีแบบไหนให้คุณได้เลือกบ้าง เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกระหว่าง HDD SSD ตัวไหนที่จะเหมาะกับการใช้งานของคุณมากที่สุด หลังจากเห็นว่าฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่อะไรกันไปแล้ว เรามาเทียบความแตกต่างของหน่วยความจำสองประเภทนี้ เพื่อตามหาฮาร์ดแวร์ที่ตอบโจทย์คุณที่สุดไปพร้อมกัน มีประเภทของฮาร์ดดิสก์หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันดังนี้ 1.Hard Disk Drive (HDD) – HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เทคโนโลยีดิสก์แม่เหล็กที่มีเพลาหมุนเพื่ออ่านและเขียนข้อมูล – มีความจุสูงและราคาที่ถูก แต่มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลต่ำกว่า SSD – มักใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปและเซิร์ฟเวอร์ 2.Solid State Drive (SSD) – SSD เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เทคโนโลยีหน่วยความจำแบบอุณหภูมิสูง (NAND flash memory) เพื่อเก็บข้อมูล – มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลสูงมากกว่า HDD – มีการใช้พลังงานน้อยกว่า HDD และมีความทนทานสูง – มักใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง 3.Hybrid Drive (SSHD) – SSHD เป็นฮาร์ดดิสก์ที่รวมคุณสมบัติของ HDD และ SSD เข้าด้วยกัน – มีการใช้งานร่วมกันระหว่างการจัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำแบบอุณหภูมิสูง – มักใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาและเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 4.Network-Attached Storage (NAS) – NAS เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อให้บริการการจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูล – มักใช้ในบ้านหรือองค์กรเพื่อเก็บข้อมูลและแชร์ไฟล์ 5.Enterprise HDD – Enterprise HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในระบบเซิร์ฟเวอร์และธุรกิจ – มีความทนทานและประสิทธิภาพสูง และมักมีการสำรองข้อมูลแบบ RAID นอกจากนี้ยังมีฮาร์ดดิสก์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานพิเศษ เช่นฮาร์ดดิสก์แบบเสียงน้อย (ใช้ในเครื่องเสียงมือถือหรือเครื่องเล่นเพลง) และฮาร์ดดิสก์ในรูปแบบพิเศษสำหรับใช้ในงานเฉพาะ เช่นฮาร์ดดิสก์ CCTV หรือฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบอื่น ๆ ด้วย รวมทั้ง HDD และ SSD คุณภาพดี ราคาคุ้มค่า เอาไว้ให้คุณในที่เดียวกับ RANNOTEBOOK สำหรับใครที่ต้องการ ให้คำปรึกษาว่าจะเลือกใช้ HDD หรือ SSD กันดี แนะนำว่ามาที่ RANNOTEBOOK และคุณจะได้คำตอบอย่างรวดเร็วแน่นอน เพราะเรามีทีมงาน ที่เข้าใจการใช้งานมากที่สุดเตรียมเอาไว้ให้บริการคุณ พร้อมทั้งยังมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ เตรียมเอาไว้ให้คุณได้เลือกซื้อกันแบบครบชุดอีกด้วย ถ้าอยากเลือกรุ่นคร่าว ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ของเราพร้อมให้บริการคุณอย่างรวดเร็วทันใจเช่นกัน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ Hard Disk คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นของคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อเก็บรักษาไฟล์ และข้อมูลของคุณในระยะยาว เมื่อคุณบันทึกไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ ก็เท่ากับว่าคุณได้บันทึกไฟล์ลงในฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ฮาร์ดดิสก์ เป็นหน่วยความจําอะไร ฮาร์ดดิสก์เป็นหน่วยความจำภายนอก ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลจะยังอยู่ในเครื่อง จนกว่าเราจะลบเอง แผ่นฮาร์ดดิสก์ ทำมาจากอะไร แผ่นจานโลหะที่เรียกว่า “Media” ผลิตมาจากแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมเคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ในฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ต้องมี Media อย่างน้อยหนึ่งแผ่น โดยถูกยึดติดอยู่บนแกนมอเตอร์ ซึ่งจะหมุนด้วยความเร็วสูง และมีความทนทาน
Category: Category #1
การยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค แบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค เป็นอุปกรณ์เก็บไฟ ซึ่งจะมีอายุการใช้งานตามสภาพ แต่เราสามารถยืดอายุการใช้งานให้มันได้ เสียในเวลาที่สมควร 1. อย่าเก็บแบตไว้ในที่ที่ความร้อนสูง หรือ ต่ำ เกินไป แบตเตอรีบวมก็เกิดจากความร้อนนีละครับ 2. ไม่ควรใช้งานจนแบตเตอรี่หมดเหลือ 0% หรือ ใช้จนเครื่องดับไป จะทำให้แบตเสื่อมเร็ว ชั่วโมงการเก็บไฟจะลดลง เมื่อแบตลดลงเหลือ 30% แนะนำให้ชาร์จครับ 3. เมื่อชาร์จจนแบตเต็มแล้ว หากยังต้องการใช้งานอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องถอดปลั๊กออก สามารถใช้ได้เลยเพราะเครื่องจะตัดการชาร์จเอง 4. เมื่อแบตเต็ม ไม่ควรเสียบสายชาร์จไว้ตลอดเป็นเวลานานกว่า 1-2 เดือน แนะนำให้ใช้แบตจนเหลือไม่ตำกว่า 30% แล้วค่อยชาร์จใหม่ 5. การใช้ Battery Notebook ของแท้ ก็มีส่วนสำคัญมาก สำหรับอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า คุณภาพดี และ ทนทานกว่า การชาร์จ Battery Notebook 1. เนื่องจาก แบตเตอรี่ โน๊ตบุ๊ค ส่วนใหญ่ จะเป็น ชนิด Li-ion อยู่แล้ว แบตเตอรี่ชนิดนี้ นับรอบการชาร์จเต็ม 100% = 1 ครั้งการชาร์จ ดังนั้นจะชาร์จบ่อยก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ควรปล่อยให้ แบตเตอรี่ โน๊ตบุ๊ค หมดแล้วค่อยเสียบ สายชาร์จ โน๊ตบุ๊ค นะครับ 2. ปกติแบต Li-ion ไม่จำเป็นต้องชาร์จครั้งแรก แต่มีบางกรณีที่เครื่องต้องดีเทคแบตใหม่ด้วยการเสียบชาร์จ ดังนั้นควรเสียบสายชาร์จก่อนเปิดเครื่องเพื่อกระตุ้นแบต 3. ไม่ควรชาร์จแบตที่ 0% จะทำให้แบตเสื่อมเร็ว 4. ควรใช้สายชาร์จโน๊ตบุ๊ตแท้ และ ตรงรุ่นของเครื่อง เนื่องจากคุณภาพสูง สายชาร์จโน๊ตบุ๊คของแท้จะจ่ายไฟได้ราบรื่นนั่นเอง
7 วิธี ทดสอบ Power Supply Dell หากเครื่องเปิดไม่ติด ปัญหาโลกแตก เมื่อคอมพิวเตอร์ เปิดไม่ติด กดสวิทช์เปิดเครื่องแล้ว เปลื่ยนสายไฟแล้วก็ยังนิ่ง เอาละสิครับ จะรู้ได้งัยว่า Power Supply เสีย หรือ เมนบอร์ดเสีย 1. ลองเปลี่ยนสายไฟ และ ปลั๊กไฟ ที่ใช้ต่อพ่วงก่อน เพราะ บ่อยครั้ง สายไฟเสีย หรือ ปลั๊กพ่วงเสีย ทำให้เปิดเครื่องไม่ติด 2. ถอดสายไฟของ Power Supply ออกจากเมนบอร์ดให้หมดแล้วเสียปลั๊กเข้าที่ Power Supply 3. ที่ด้านหลัง power supply Dell เกือบทุกรุ่น จะมีปุ่มทดสอบสีดำเล็กๆติดกับLEDสีเขียว ให้กดปุ่มทดสอบค้างไว้ ไฟLED จะต้องติดค้างไว้ตลอดถ้าเรายังไม่ปล่อยมือ แต่ถ้าปล่อยมือไฟก็จะดับ 4. หากไฟ LED ไม่ติด ให้ดูที่พัดลมของ POWER Supply ด้วย มันควรจะต้องหมุน หากไฟไม่ติด พัดลมไม่หมุน ก็แปลว่าเสีย 100% 5. เมื่อทดสอบแล้วว่า Power Supply ไม่เสีย แต่ยังไม่สามารถเปิดเครื่องได้ ให้ลองถอดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกทีละชิ้น เริ่มจาก Driver DVD และไล่ไปเรื่อยๆ จนเหลือแค่ อุปกรณ์ที่จะทำให้เริ่มระบบได้เท่านั้น หากยังไม่ติดอีก ก็อาจจะเป็น Power Supply เสีย หรือ เมนบอร์ดเสีย 6. ให้สังเกตการกระพริบของไฟสถานะปุ่มสวิทช์เปิดเครื่อง ว่า มันกระพริบลักษณะไหน เพราะ นั่นคือรหัส ERROE ของเครื่อง ซึ่งเครื่องกำลังบอกว่า มีปัญหาที่อะไร ให้เอาระหัสการกระพริบ ไปค้นในกูเกิ้ลก็จะเจอข้อมูล 7.หากรุ่นไหน ไม่มีปุ่มทดสอบ ให้ถอดสายของ Power Supply ออกจากเมนบอร์ด และ อุปกรณ์ ทั้งหมดก่อน แล้ว จั๊มสายไฟสีดำและสีเขียวเข้าด้วยกัน และ เสียบปลั๊ก หากไม่เสีย พัดลมของ Power Supply Dell จะทำงานครับ แต่วิธีนี้ควรจะต้องวัดโวลล์และแอมป์ตามขาของ Power ด้วยนะครับ เพราะบางครั้ง ถึงแม้ Power Supply จะทำงานจ่ายไฟได้ แต่อาจจ่ายไฟไม่เต็ม ก็ทำให้เครื่องเปิดไม่ติด แบบนี้ก็เสียเหมือนกันครับ